Spinal cord injury http://sci.siam2web.com/

Pathology

เมื่อเกิดพยาธิสภาพในไขสันหลังพบความผิดปกติดังนี้  

    1.)การสูญเสียความรู้สึก(Loss of sensation) 

ช่วยบ่งบอกรอยโรคได้ดีที่สุดคือจะสูญเสียความรู้สึกเป็นระดับ(Level of sensory loss)ใต้ต่อระดับที่มีพยาธิสภาพ


 

    2.)อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง(Motor weakness) เกิดอัมพฤกษ์,อัมพาตครึ่งตัว(Paraparesis,Paraplegia)หรือทั้งตัว(Quadriparesis,Quadriplegia)และอาจเกิดอ่อนแรงครึ่งซีก(Hemiparesis,Hemiplegia)คล้ายกับเกิดโรค ในสมองแต่แตกต่างกันที่ไม่พบความผิดปกติของสมองอื่นๆพบอาการแสดงของ Upper Motor Neuron lesionที่ระดับต่ำกว่ารอยโรค(แสดงว่าเกิดพยาธิสภาพในระบบประสาทส่วนกลางเหนือต่อเซลล์ประสาทควบคุมกล้ามเนื้อ 

motor neuronที่อยุ่ในไขสันหลังและนิวเคลียสของเส้นประสาทสมองในก้านสมอง) คือ อาการเกร็ง(Spasticity),รีเฟล็กซ์ไวเกิน(Hyperreflexia),Babinski’s sign พบอาการแสดงของ Lower Motor Neuron lesion ที่ระดับเดียวกับรอยโรคคือ กล้ามเนื้อลีบ ความตึงตัวลดลง(Hypotonia),รีเฟล็กซ์ไม่มีหรือลดลง


 

    3.)การทำงานของกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ผิดปกติ(Bowel,Bladder dysfunction) พบได้เมื่อมีความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ มีการสูญเสียการควบคุมหูรูด (Sphincter) การทำงานของกระเพาะปัสสาวะ-

กล้ามเนื้อหูรูดไม่สัมพันธ์กัน(Dyssynergia)


    4.)รีเฟลกซ์ผิดปกติ(Abnormal Reflexes)

Superficial reflex ลดลงหรือหายไป, Deep tendon reflex เปลี่ยนแปลงไม่มี,ลดลงในLower motor neurone lesion,ไวเกินในUpper motor neurone lesion


 

    5.)อาการปวด(Pain)  

ตำแหน่งที่กดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังช่วยบอกระดับไขสันหลังที่เกิดโรคได้ถูกต้องโดยเฉพาะการกดทับไขสันหลังที่เกิดจากมะเร็งที่กระจายมายังกระดูกสันหลัง

 

 

การบ่งบอกระดับไขสันหลังที่ผิดปกติตามยาว(Longitudinal localization)

อาการแสดงที่ตรวจพบจะบอกถึงระดับไขสันหลังที่ผิดปกติว่าเกิดขึ้นที่ระดับ คอ อก เอว หรือก้นกบดังนี้

    1.)ระดับคอส่วนบน(Higher C-spine)  

มักเกิดจากอุบัติเหตุ,เกิดอัมพฤกษ์-อัมพาตทั้งตัว(Quadriparesis,Quadriplegia),การหายใจล้มเหลว เกิดจากพยาธิสภาพเหนือต่อระดับไขสันหลังที่เป็นจุดกำเนิดเส้นประสาทเลี้ยงกระบังลม(Phrenic nerveออกจากไขสันหลังระดับคอที่ 3,4,5)


 

    2.)ระดับคอส่วนล่าง(Lower C-spine)

 กล้ามเนื้อมัดที่อ่อนแรงช่วยบอกระดับไขสันหลังคือ Bicepอ่อนแรงเกิดที่ระดับ C-5,6,Tricep ,wrist extensorที่ระดับ C-7,กล้ามเนื้อมือ ที่ระดับ C-8,T-1


 

    3.)ระดับอก(Thoracic spine )

 อาจมีพยาธิสภาพต่อระบบประสาทอัตโนมัติ Sympatheticเกิดอาการความดันโลหิตต่ำ(Hypotension),หัวใจเต้นช้า(Bradycardia)  

และอาจเกิด Horner’s syndrome รูม่านตาเล็ก(Miosis),หนังตาตก(Ptosis),เหงื่อแห้ง(Anhydrosis)ซึ่งพบได้เมื่อเกิดโรคที่ไขสันหลังระดับคอและอกส่วนบน(T-1),ก้านสมอง) ,มีอ่อนแรงของขา,สูญเสียความรู้สึกที่ลำตัวลงไปถึงขา    


 

    4.)ระดับเอว(Lumbar spine)

 อ่อนแรงที่ขา,สูญเสียความรู้สึกบริเวณขาหรือรอบก้น(Saddle area),กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ทำงานผิดปกติ


 

    5.)ระดับรากประสาท (Cauda equina)  

เมื่อเกิดพยาธิสภาพที่ต่ำกว่ากระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่1เกิดอาการแสดงLower Motor Neuron คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบปวกเปียก(Flaccid paralysis),รีเฟล็กซ์ช้าลง(Hyporeflexia),กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ทำงานผิดปกติ 

 


 

การบ่งบอกรอยโรคตามขวาง(Transverse localization)

การบ่งบอกรอยโรคในเนื้อไขสันหลังขึ้นกับขอบเขต(Transverse localization)ที่มีพยาธิสภาพดังนี้

 

1.กลุ่มอาการที่เกิดจากไขสันหลังเสียหน้าที่ทั้งหมด(Complete spinal cord syndrome)

สูญเสียความรู้สึกทั้งหมด,กล้ามเนื้ออ่อนแรง,ระบบประสาทอัตโนมัติ เมื่อไขสันหลังถูกตัดขาดในระยะแรกเกิดภาวะSpinal shockจะหยุดทำงานทุกอย่าง(Total loss of motor, sensory, autonomic, reflex)คือ ไม่มีรีเฟล็กซ์(Areflexia),กล้ามเนื้ออ่อนแรง(Paralysis),หมดความรู้สึกใต้ต่อ ระดับที่มีพยาธิสภาพ(Loss of all sensory function), ระบบประสาทอัตโนมัติหยุดทำงานโดยเฉพาะระบบ Sympatheticทำให้ความดันโลหิตต่ำ ,หัวใจเต้นช้า เรียกว่า Neurogenic shockซึ่งแตกต่างจากภาวะช็อคจากการเสียเลือดที่มีหัวใจเต้นเร็ว ภาวะSpinal shock มักจะกินเวลาไม่เกิน 24 ชม.แต่อาจนาน เป็นสัปดาห์เมื่อพ้นภาวะ Spinal shock จะมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะดังนี้

1.Minimal reflex activity 3-4 สัปดาห์เริ่ม มีรีเฟล็กซ์บางอย่างกลับมา

2.Flexor spasm 6-16 สัปดาห์ มีการกระตุกของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ

3.Alternate flexor and extensor spasm 4-6 เดือน

4.Extensor spasm >6 เดือน


2.กลุ่มอาการที่เกิดจากไขสันหลังเสียหน้าที่บางส่วน(Incomplete spinal cord syndrome)ดังนี้

  

 

(Root) 201028_68677.jpg

 2.1)Central cord syndrome  ไขสันหลังส่วนกลางมีพยาธิสภาพ,พบได้บ่อยที่สุด,อาการสำคัญคืออาการอ่อนแรงของแขนมากกว่าขา,อาการชาเป็นแถบตาม Dermatome ของระดับไขสันหลังที่มีพยาธิสภาพ(Suspendedsensory loss,Bra or cape like)

 


(Root) 201028_68626.jpg

 

2.2)Brown-sequard(Hemisection cord) syndrome ไขสันหลังครึ่งซีกมีพยาธิสภาพ,มีการพยากรณ์โรคดีที่สุดฟื้นตัวได้ใกล้เคียงปกติ,อาการสำคัญคือ อ่อนแรงของแขนขาครึ่งซีก(Hemiparesis),สูญเสียการรับความรู้สึกของกล้ามเนื้อและข้อ(Proprioception)ในด้านเดียวกับที่มีพยาธิสภาพ แต่สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวดและอุณหภูมิในด้านตรงกันข้าม

(Root) 201028_68606.jpg


2.3)Anterior cord syndrome ไขสันหลังส่วนหน้า2ใน3มีพยาธิสภาพ มีอาการอ่อนแรงครึ่งตัวหรือทั้งตัว(Paraparesis,Quadriparesis),สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวดและอุณหภูมิตั้งแต่ระดับไขสันหลังที่มีพยาธิสภาพลงไป แต่ยังมีความรู้สึกของกล้ามเนื้อและข้อ(Proprioception)

 


2.4)Posterior cord syndrome ไขสันหลังส่วนหลังมีพยาธิสภาพเสียแต่ความรู้สึกของกล้ามเนื้อและข้อ พบได้น้อย

 

 

 

ข้อสังเกตที่ช่วยบอกว่าเป็นบาดเจ็บชนิด Incomplete cord injury

1.)ยังคงมีความรู้สึกบางอย่างเหลืออยู่ เช่น Proproception หรือมีการขยับกล้ามเนื้อขาได้

2.)Sacral sparing มีความรู้สึกรอบทวารหรือผู้ป่วยขมิบก้น(Voluntary rectal sphincture contraction) หรืองอนิ้วโป้งที่เท้าได้


Introduction Etiology&incident&cause





Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 168,302 Today: 6 PageView/Month: 82

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...